Minor Food x The Standard : Episode 2 ไม่ต้องเป็นหัวหน้าก็เติบโตได้ จงวัด Career Path ที่ ‘ผลงาน’ ไม่ใช่ ‘ระยะเวลา’
อยากเติบโตในหน้าที่การงานต้องทำอย่างไร
คนวัยทำงานมักตั้งคำถามเรื่องนี้กับตัวเองอยู่เสมอ อีก 5 ปีข้างหน้าจะเติบโตไปในทิศทางไหน อาชีพที่ทำอยู่ใช่ทางที่ชอบหรือยัง อยากขึ้นตำแหน่งเป็นหัวหน้า หรือ Specialist มากกว่า ในขณะเดียวกับผู้บริหารก็ต้องคิดเรื่องนี้ให้ลูกน้องเช่นกัน เพื่อรักษาคนเก่งๆ เอาไว้ และทำให้องค์กรพัฒนาไปไม่หยุดนิ่ง
The Secret Sauce เอพิโสดนี้ เคน นครินทร์ ชวน จี๊ด-ปัทมาวลัย รัตนพล (Chief People Officer, Minor International & Minor Food) มาคุยเรื่องโอกาสในการเติบโตของคนทำงาน
Career Path คืออะไร
ที่ Minor จะไม่ใช่คำว่า Career Path แต่เปลี่ยนเป็น Career Opportunity เพราะทุกคนมีโอกาสก้าวหน้าในอาชีพได้อย่างไม่จำกัด ขึ้นอยู่กับว่าผลงานของคุณคืออะไร เรื่องนี้ต่อยอดมาจากเรื่องเป้าหมาย เมื่อเราสามารถทำเป้าหมายได้สำเร็จ สิ่งนั่นคือผลงาน หากคุณทำผลงานได้ดีเยี่ยมหลายครั้ง มันสะท้อนถึงความโดดเด่นให้คนอื่นได้เห็น เป็นโอกาสผลักดันตัวเองให้ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
ทุกคนควรก้าวหน้าอย่างมีความสุข ไม่ใช่ก้าวหน้าเพราะความเชื่อ อย่าติดอยู่กับการวิ่งตามตำแหน่งงานที่คนอื่นเลือกให้ เพราะมันอาจไม่ใช่ความถนัดส่วนตัว ไม่ได้เป็นสิ่งที่รักและไม่ตอบโจทย์กับชีวิต
น่าเสียดายที่คนไทยขาดโอกาสเรื่องนี้ เพราะทุกอย่างถูกกำหนดด้วยการศึกษาและปริญญา กลับกันกลุ่มสตาร์ทอัพจะได้เลือกสิ่งที่ชอบ และสามารถเปลี่ยนแปลงได้หากสิ่งนั้นยังไม่ใช่
รักษาคนเก่งด้วยการปรับโครงสร้างองค์กรมารองรับ
Career Opportunity ของที่ Minor ไมีมีลิมิต เราพร้อมรักษาคนเก่ง ด้วยการปรับโครงสร้างเพื่อให้เขาได้ทำตำแหน่งใหม่ เรามีจุดขายชัดเจนว่า พนักงานสามารถอยู่ธุรกิจไหน บริษัทไหน ในประเทศใดก็ได้ เพราะเรามีหลายธุรกิจ ครอบคลุม 64 ประเทศทั่วโลก
เริ่มหา Career Opputunity อย่างไร
1. พิจารณาดูว่าบทบาทของตัวเองคืออะไร อ่าน Job Description ว่าทำได้ทั้งหมดไหม
2. จากบทบาททั้งหมดที่ต้องทำ สิ่งไหนคือสิ่งที่โดดเด่นที่สุด
3. ในสิ่งที่โดดเด่นที่สุด สามารถทำงานได้บรรลุตามเป้าหมายหรือไม่
4. ถ้าทำได้ สายงานนี้ใช่ที่เติบโตไหน
ไม่รู้วิธีตั้ง Career Path ของตัวเองทำไงดี
ลองดูว่างานที่หัวหน้าตัวเองทำอยู่คืออะไร สมมติว่าทุกวันนี้ตำแหน่งของเราคือผู้ช่วยผู้จัดการแผนก ความฝันอยากเป็นผู้จัดการแผนก ก็ควรหมั่นสังเกตดูว่าเขาทำงานอะไร ทำอย่างไร เราสามารถดึงงานเขามาช่วยทำแทนได้ไหม ทำตัวเองให้พร้อม ถ้าวันหนึ่งมีตำแหน่งว่าง และผลงานเราโดดเด่นมากพอ เขามีโอาสเลือกเรา เพราะเราคือคนที่พร้อมที่สุด
หัวหน้าเองก็ต้องหา Successor มาเป็นตัวแทนของตัวเองเอาไว้ด้วย ในวันหนึ่งที่จะขยับตัวแหน่งขึ้น จะได้มีคนมาทำงานตรงนั้นแทนที่
Career Wish เครื่องมือช่วยคนที่ไม่รู้ว่าต้องเติบโตไปทางไหน
2 คนที่ต้องช่วยพนักงานที่ยังไม่รู้ Career Path ตัวเองคือหัวหน้าและฝ่ายบุคคล ที่ Minor เอกสารหน้าสุดท้ายของการประเมินประจำปีคือโจทย์ที่ให้พนักงานเขียน Career Wish 3 ข้อ ‘คุณจะทำตำแหน่งอะไรบ้าง ถ้าไม่ทำตำแหน่งนี้’ เราให้พนักงานเลือกตำแหน่งอะไรก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทำที่เดิมก็ได้ มันทำให้เห็นว่า บางคนอยากขึ้นตำแหน่งสูงขึ้นไป ในขณะที่บางคนอยากเปลี่ยนสายงาน สิ่งนี้จะช่วยให้เรารู้จักตัวตนของเขามากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ในใบประเมินของเรายังมี หน้าวัดผลงาน Performance แผนพัฒนา และ Career wish ทั้งหมดช่วยสะท้อนจุดยืน แผนพัฒนาและความฝัน
โดยทุกไตรมาสหัวหน้าต้องทำ Business Review เพื่อดูปัญหา อุปสรรคและโอกาส ดูว่าภาพรวมเกิดอะไรขึ้นบ้างในบริษัท จากนั้นจึงนำมาเชื่อมโยงกับแบบประเมินที่เล่าไปข้างต้น เพื่อหาพนักงานที่เหมาะสมมารองรับการทำงานที่ต้องปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา
คนทำงานไม่จำเป็นต้องเติบโตไปเป็น ‘หัวหน้า’ เสมอไป
การเติบโตในสายงานมี 2 รูปแบบ
1. Management
ถ้าคุณชอบสายงานด้านบริหารมากกว่า คุณไม่จำเป็นต้องเก่งด้านนั้นมากที่สุด แต่ต้องมีทักษะพื้นฐาน เพื่อใช้ในการคัดเลือกทีมงาน เพื่อมาทำให้ทีมสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น
2. Specialist
คุณอาจไม่จำเป็นต้องมีลูกน้องมากมาย แต่คุณต้องมีชื่อเสียงในด้านที่คุณทำให้ได้มากที่สุด เพื่อเป็นที่หนึ่งและตัวเลือกแรกที่จะถูกนึกถึง
Career Path อยู่ที่ ‘ผลงาน’ ไม่ใช่ ‘ระยะเวลา’
การเริ่มต้นสร้าง Career Path ของตัวเองทำได้ทุกวัน อย่าคิดว่าต้องตั้งต้นที่ปีใหม่เท่านั้น ถ้ายังไม่รู้จริงๆ ว่าควรทำอะไร ย้อนกลับมาถามตัวเองก่อนว่าแพสชันของคุณคืออะไร การทำงานต้องมีแพสชัน ถึงตามมาด้วยเป้าหมาย เหมือนคนวิ่งมาราธอน เขาตั้งใจฝึกฝนด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องมาคอยดูเลยว่า วันนี้จะมีเพื่อนไปวิ่งด้วยกันไหม การทำงานก็เช่นกัน เริ่มต้นที่ตัวเองโดยไม่ต้องรอให้หัวหน้ามาคอยสั่ง เพราะท้ายที่สุด Career Path อยู่ที่ Performance ของคุในวันนี้ ไม่ใช่ระยะเวลาที่ต้องสะสมไปเรื่อยๆ เท่านั้น
- - - - - - - - - - - - -
ที่มา : The Standard Podcast รายการ The Secret Sauce
รับฟังรายการ The Secret Sauce ได้ที่
https://thestandard.co/podcast/thesecretsauce153/
และ https://www.youtube.com/watch?v=y_HGjd421jw
หรือ The Secret Sauce Podcast ที่ Podbean | Apple.Podcast | Spotify | Soundcloud | Youtube | Joox